วันอังคารที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2557

ปราสาทหลวงพ่ออุตตมะ วัดวังวิเวการาม

ปราสาทหลวงพ่ออุตตมะ วัดวังวิเวการาม


เรา เดินออกจากสะพานมอญ หรือสะพานอุตตมานุสรณ์ หลังจากที่เดินไปได้แค่เพียงครึ่งทาง เนื่องด้วยบนสะพานนั้นแดดร้อนมากกกกก และเวลาที่เรามีอยู่นั้นมันดูจะน้อยไปที่จะเดินไปจนสุดสะพานอย่างที่เคย ๆ ทำมา รถ พาเรามายังอีกฟากหนึ่งของเจดีย์พุทธคยา นั้นคือ บริเวณวัดวังวิเวการาม ซึ่งแต่เดิมนั้นเป็นที่พำนักของหลวงพ่ออุตตมะ หลวงพ่อผู้เป็นจุดรวมแห่งศรัทธาของชาวมอญบนพลัดถิ่นบนผืนแผ่นดินไทย
สำหรับ "วัดวังก์วิเวการาม"หรือ "วัดหลวง พ่ออุตตมะ" เป็นวัดที่หลวงพ่ออุตตมะ ร่วมกับชาวบ้านอพยพชาวกะเหรี่ยงและชาวมอญ ได้ร่วมกันสร้างขึ้น ในปี พ.ศ.2496 ที่บ้านวังกะล่าง อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี ใกล้กับชายแดนไทย-พม่า ห่างจากอำเภอเมืองกาญจนบุรี ประมาณ 220 กิโลเมตร

ใน ระยะแรกมีเพียงกุฏิและศาลา มีฐานะเป็นสำนักสงฆ์ แต่ชาวบ้านโดยทั่วไปเรียกว่า วัดหลวงพ่ออุตตมะ ตั้งอยู่บนเนินสูงในบริเวณที่เรียกว่า สามประสบ ซึ่งเป็นจุดที่แม่น้ำ 3 สาย คือแม่น้ำซองกาเลีย แม่น้ำบีคลี่ แม่น้ำรันตี ไหลมาบรรจบกัน
ใน ปี พ.ศ.2505 ได้รับอนุญาตจากกรมการศาสนาให้ใช้ชื่อว่า วัดวังก์วิเวการาม ซึ่งตั้งตามชื่ออำเภอเดิม คืออำเภอวังกะ-สังขละบุรี ซึ่งต่อมาถูกยุบเป็นกิ่งอำเภอ ก่อนที่จะยกฐานะเป็น อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรีในปี พ.ศ.2508
วัด วังก์วิเวการาม ก่อสร้างด้วยศิลปะแบบพม่า มีพระพุทธรูปหินอ่อน และ งาช้างแมมมอธ มีเจดีย์พุทธคยาจำลอง สร้างจำลองแบบจาก เจดีย์พุทธคยา ประเทศอินเดีย โดยเริ่มก่อสร้าง พ.ศ.2518 แล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ.2529

แม้ในวันนี้วัดวังวิเวการามจะไม่มีร่มโพธิร่มไทรอย่าง หลวงพ่ออุตตมะที่จากไปตั้งแต่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2549 อายุรวมได้ 97 ปี

“พระมหาอุตตมะรัมโภภิกขุ” หรือที่รู้จักกันทั่วไปในนามของ “หลวงพ่ออุตตมะ” พระเกจิอาจารย์ชื่อดังของจังหวัดกาญจนบุรี ทั้งยังเป็นพระภิกษุสงฆ์ชาวมอญ ผู้มีบทบาทผู้นำคนสำคัญของชาวมอญพลัดถิ่นที่สังขละบุรี

เกิด เมื่อวันอาทิตย์ขึ้น 6 ค่ำ เดือน 4 ปีจอ จุลศักราช 1272 (พ.ศ. 2453) ที่หมู่บ้านโมกกะเนียง ตำบลเกลาสะ อำเภอเย จังหวัดมะละแหม่ง   เป็นบุตรของนายโงและนางทองสุข อาชีพทำนา มีพี่น้องรวม 12 คน เนื่องจากเป็นทารกเพศชายเกิดในวันอาทิตย์ จึงมีชื่อว่า “เอหม่อง”

ปี พ.ศ. 2462 ขณะเด็กชายเอหม่องมีอายุได้ 9 ขวบ เกิดอหิวาตกโรคระบาดขึ้นในหมู่บ้าน บิดามารดาจึงพาเด็กชายเอหม่องไปฝากกับพระอาจารย์นันสาโรแห่งวัดโมกกะเนียง ผู้เป็นลุงเพื่อให้ปรนนิบัติรับใช้และศึกษาพระธรรมเป็นเครื่องคุ้มครองจาก โรคภัย เด็กชายเอหม่องเป็นผู้ใฝ่ใจในการศึกษาอย่างยิ่ง จนสามารถสอบได้ชนะเด็กในวัยเดียวกันเป็นประจำทุก ๆ ปี
 ปี พ.ศ. 2467 เด็กชายเอหม่องอายุได้ 14 ปี เกิดอหิวาตกโรคระบาดครั้งใหญ่อีกครั้งหนึ่ง ส่งผลให้ต้องสูญเสียน้องชายถึง 5 คน เด็กชายเอหม่องจึงขอออกจากวัดโนกกะเนียงเพื่อมาช่วยเหลือทางบ้านด้วยความ ขยันขันแข็ง จนกระทั่งอายุ 18 ปี เจ้าอาวาสวัดเกลาสะได้ไปขอกับบิดามารดาให้เด็กชายเอหม่องไปบรรพชาเป็นสามเณร
หลวง พ่ออุตตมะ บรรพาเป็นสามเณร ณ วัดเกลาสะ ตำบลเกลาสะ อำเภอเย จังหวัดมะละแหม่ง เมื่อจุลศักราช 1291 (พ.ศ. 2472) โดยมีพระเกตุมาลาเป็นพระอุปัชฌาย์ ปีนั้นเอง หลวงพ่อศึกษาภาษาบาลี และพระปริยัติธรรมจนสอบได้นักธรรมตรี อีกปีหนึ่งต่อมาสอบได้นักธรรมโท แต่ไม่นาน หลวงพ่อก็ตัดสินใจสึกออกมาเพราะเห็นว่าไม่มีใครช่วยบิดามารดาทำนา

จน กระทั่งหม่องเอ ซึ่งเป็นลูกของพี่สาวของบิดา ได้มาอาศัยอยู่ด้วย หลังจากที่บิดามารดาของหม่องเอเสียชีวิตจนหมดสิ้น ซึ่งเท่ากับว่ามีคนมาช่วยแบ่งเบาภาระในการทำนา และมีญาติซึ่งไว้วางใจได้มาคอยดูแลบิดามารดา

หลวง พ่ออุตตมะจึงตัดสินใจอุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดเกลาสะ โดยมีพระเกตุมาลา วัดเกลาสะ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระนันทสาโร วัดโมกกะเนียง เป็นพระกรรมวาจารย์ พระวิสารทะ วัดเจ้าคะเล เป็นพระอนุสาวนาจารย์ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2476 ได้รับฉายาว่า “อุตตมรัมโภ” แปลว่า ผู้มีความพากเพียรอันสูงสุด”  โดยหลวงพ่ออุตตมะได้ตั้งเจตจำนงที่จะบวชไม่สึกจนตลอดชีวิต

ด้วย ความพากเพียรและใฝ่ใจในการศึกษาพระธรรม ในปี พ.ศ. 2474 หลวงพ่ออุตตมะ สามารถสอบได้ นักธรรมชั้นเอก ณ สำนักเรียนวัดปราสาททอง อำเภอเย จังหวัดมะละแหม่ง ต่อมาในปี พ.ศ. 2484 สอบได้เปรียญธรรม 8 ประโยค ที่สำนักเรียนวัดสุขการี อำเภอสะเทิม จังหวัดสะเทิม ซึ่งเป็นชั้นสูงสุดของคณะสงฆ์ในประเทศพม่า ขณะนั้น บ้านเมืองกำลังเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 หลวงพ่อจึงเดินทางกลับวัดเกลาสะ และได้รับมอบหมายให้เป็นอาจารย์สอนภาษาบาลีแก่ภิกษุสามเณร
ต่อ มาท่านก็ลาพระอุปัชฌาย์เดินทางไปศึกษาวิปัสนากรรมฐานที่วัดตองจอย จังหวัดมะละแหม่ง และวัดป่าเลไลย์ จังหวัดมัณฑะเลย์ จนมีความรู้ความสามารถในเรื่องวิปัสนากรรมฐานตลอดจนวิชาไสยศาสตร์และพุทธคม เป็นอย่างดี ปี พ.ศ. 2486 หลวงพ่อจึงเริ่มออกธุดงค์เพื่อหาประสบการณ์

หลวง พ่ออุตตมะ ออกธุดงค์ไปตามที่ต่าง ๆ ในประเทศพม่า และเข้ามาประเทศไทยครั้งแรกทางจังหวัดเชียงใหม่  ต่อมาทราบข่าวว่าพระเกตุมาลา พระอุปัชฌาย์กำลังอาพาธ จึงรีบเดินทางกลับพม่า จนกระทั่งพระเกตุมาลามรณภาพ ท่านก็ได้เดินทางเข้ามาประเทศไทยอีกครั้งหนึ่ง    โดยครั้งนี้ หลวงพ่อเดินทางเข้ามาทางตำบลปิล็อก อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี ประมาณปี พ.ศ. 2492
ใน ปี พ.ศ. 2492 อันเป็นพรรษาที่ 16 ของพระมหาอุตตมะรัมโภ พายุไต้ฝุ่นพัดจากทะเลอันดามัน สร้างความเสียหายให้กับชาวบ้านอย่างใหญ่หลวง โดยเฉพาะบ้านโมกกะเนียง และเกลาสะ มีผู้เสียชีวิตมากกว่าร้อยคน บ้านเรือนเหลือเพียงไม่กี่หลังคาเรือน ชาวบ้านลำบากยากแค้นแสนสาหัส ข้าวของอาหารการกินขาดแคลนกันทั่วหน้า
นอก จากภัยธรรมชาติแล้ว ชาวบ้านยังต้องประสบเคราะห์กรรมจากปัญหาความขัดแย้งในทางการเมืองอีกด้วย เนื่องจากการปะทะและต่อสู้ระหว่าง กองทหารของรัฐบาลพม่า กับกองกำลังติดอาวุธกู้ชาติ อีกทั้งกองกำลังกู้ชาติบางกลุ่มแปรตัวเองไปเป็นโจรปล้นสดมภ์ชาวบ้าน
ด้วย ความเบื่อหน่ายเรื่องการรบราฆ่าฟันกัน ระหว่างชนเผ่า หลวงพ่ออุตตมะ จึงตัดสินใจจากบ้านเกิด มุ่งหน้าสู่ดินแดนประเทศไทย เป้าหมายที่แท้จริงของท่านในเวลานั้น คือเขาพระวิหาร ปรากฏว่าเมื่อชาวบ้านรู้ข่าวต่างเสียใจ ไม่อยากให้ท่านจากไป พากันร้องไห้ระงมด้วยความอาลัย ซึ่งท่านได้ชี้แจงการออกเดินทางของท่านว่า
“การไปของเราจะเป็นปรหิต เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น”

หลวง พ่ออุตตมะ เดินทางเข้าเมืองไทยในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2492-2493 ทางหมู่บ้านอีต่อง ตำบลปิล็อก ชายแดนเขตจังหวัดกาญจนบุรี โดยได้รับความช่วยเหลือจากคนไทยสองคน ซึ่งมีเชื้อสายมอญพระประแดงที่มาทำเหมืองแร่ที่บ้านอีต่อง ทั้งคู่ได้จัดบ้านพักหลังหนึ่งให้เป็นกุฏิชั่วคราวของหลวงพ่อ มีชาวเหมืองจำนวนมากมาทำบุญกับหลวงพ่อ เนื่องจากพื้นที่บริเวณนั้นไม่มีวัดและพระสงฆ์เลย
เดิมที นั้น คนไทยเชื้อสายมอญพระประแดงทั้งสอง ต้องการสร้างกุฏิถวายหลวงพ่ออุตตมะให้จำพรรษาอยู่ที่บ้านอีต่อง แต่หลวงพ่อไม่รับ เนื่องจากเกรงว่าจะกลายเป็นพระเถื่อนเข้าเมืองไทย ท่านจึงต้องการไปขออนุญาตจากพระผู้ใหญ่ที่ปกครองเขตปิล็อกเสียก่อน ทั้งสองจึงพาหลวงพ่ออุตตมะ มาจำพรรษาที่วัดท่าขนุน อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี กับหลวงพ่อไตแนม ซึ่งเป็นชาวกะเหรี่ยงและอุปสมบทที่วัดเกลาสะเช่นเเดียวกับหลวงพ่ออุตตมะ
ปี พ.ศ. 2494 ขณะจำพรรษาที่วัดท่าขนุน อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี หลวงพ่ออุตตมะมีโอกาสไปสักการะพระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม ทำให้หลวงพ่อได้พบชาวไทยเชื้อสายมอญ ที่มาจากเมืองต่าง ๆ เช่น แม่กลอง สมุทรสาคร มีชาวบ้านกลุ่มหนึ่งได้นิมนต์หลวงพ่อ ไปจำพรรษาที่วัดบางปลา ตำบลบ้านเกาะ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร

หลัง จากเดินทางกลับจากวัดบางปลา มาจำพรรษาที่วัดท่าขนุน หลวงพ่อไตแนมขอให้หลวงพ่ออุตตมะ ไปจำพรรษาที่วัดปรังกาสีซึ่งเป็นวัดร้าง บริเวณวัดปรังกาสีมีชาวกะเหรี่ยงอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก และบริเวณนั้นไม่มีพระหรือวัดอื่นเลย หลวงพ่อร่วมกับกำนันชาวกะเหรี่ยงนิมนต์พระกะเหรี่ยง จากตลอดแม่น้ำแควใหญ่และแควน้อยได้ 42 รูป มาอยู่ปริวาสที่วัดปรังกาสี 9 วัน 9 คืน หลัง
จากนั้นก็สร้างกุฏิและเจดีย์ขึ้น หลวงพ่ออุตตมะนิมนต์พระกะเหรี่ยงมาจำพรรษาที่วัด 3 รูป ท่านสอนภาษามอญแก่พระทั้ง 3 รูปนี้ เพื่อเป็นพื้นฐานในการสอนธรรมะต่อไป
หลวง พ่ออุตตมะจำพรรษาอยู่วัดปรังกาสีหนึ่งพรรษา ต่อมาผู้ใหญ่ทุม จากท่าขนุนมานิมนต์หลวงพ่อไปเยี่ยมหลวงปู่แสงทีวัดเกาะ อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี ซึ่งเคยไปจำพรรษาที่วัดโมกกะเนียง เกลาสะ และมะละแหม่งมาก่อน และในพรรษานั้น หลวงพ่ออุตตมะได้จำพรรษาอยู่ที่วัดเกาะ ตามคำนิมนต์ของหลวงปู่แสง

ปี พ.ศ. 2494  ขณะที่หลวงพ่อจำพรรษาอยู่ที่วัดเกาะ มีคนมาแจ้งข่าวแก่หลวงพ่อว่า ที่กิ่งอำเภอสังขละบุรีมีชาวมอญจากบ้านเดิมของหลวงพ่ออพยพเข้าเมืองไทย ทางบีคลี่เป็นจำนวนมาก และต้องการนิมนต์หลวงพ่อไปเยี่ยม
เมื่อ หลวงพ่ออุตตมะออกจากจำพรรษา แล้วเดินทางกลับไปยังอำเภอทองผาภูมิ และไปยังอำเภอสังขละบุรี และพบกับคนมอญทั้งหมดที่มาจากโมกกะเนียง เจ้าคะเล และมะละแหม่ง บ้านเกิดของท่าน หลวงพ่อจึงพาชาวมอญเหล่านี้ไปอาศัยอยู่ที่บ้านวังกะล่าง นับเป็นจุดกำเนิดแรกเริ่มของชุมชนชาวมอญในสังขละบุรี
หลวง พ่ออุตตมะ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระครูอุดมสิทธาจารย์ เมื่อ พ.ศ. 2512 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะ ที่พระอุดมสังวรเถร เมื่อ พ.ศ. 2524 และได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็น พระราชอุดมมงคล เมื่อ พ.ศ. 2534

หลวง พ่ออุตตมะ เข้ารับรักษาตัวที่โรงพยาบาลศิริราช ตั้งแต่วันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547 ด้วยโรคไต โรคหัวใจ โรคปอด สมองขาดเลือดไปเลี้ยง ท่านไม่รู้สึกตัวและไม่สามารถลืมตาเองได้เป็นเวลากว่า 1 ปี จนกระทั่งเกิดอาการติดเชื้ออย่างรุนแรง และมรณภาพจากการติดเชื้อในกระแสโลหิตจากภาวะปอดอักเสบ เมื่อเวลา 7.22 น. ของวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2549 อายุรวม 97 ปี

กำเนิดวัดหลวงพ่ออุตตมะ      
        ในปี พ.ศ. 2499 หลวงพ่ออุตตมะ ร่วมกับชาวบ้าน สร้างสำนักสงฆ์ แต่ชาวบ้านโดยทั่วไปเรียกว่า “วัดหลวงพ่ออุตตมะ”
        ในปี พ.ศ. 2505  เมื่อได้รับอนุญาตจากกรมการศาสนาเป็นที่เรียบร้อย หลวงพ่ออุตตมะจึงได้ตั้งชื่อสำนักสงฆ์ตามชื่ออำเภอเก่า (อำเภอวังกะ) ว่า  “วัดวังก์วิเวการาม”
         ในปี พ.ศ. 2513 หลวงพ่อเริ่มสร้างพระอุโบสถวัดวังก์วิเวการามโดยปั้นอิฐเอง
        ในปี พ.ศ. 2518 หลวงพ่อได้เริ่มสร้างเจดีย์จำลองแบบจากเจดีย์พุทธคยาที่ประเทศอินเดีย และสร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2529
ตำแหน่งด้านการปกครองคณะสงฆ์และสมณศักดิ์
        ปี พ.ศ. 2504  เป็นเจ้าอาวาสวัดวังก์วิเวการาม
        ปี พ.ศ. 2505 เป็นเจ้าอาวาสวัดศรีสุวรรณาราม
        ปี พ.ศ. 2509 เป็นพระกรรมวาจาจารย์
        ปี พ.ศ. 2511 เป็นพระอุปัชฌาย์
        ปี พ.ศ. 2512 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็น พระครูอุดมสิทธาจารย์ ตำแหน่งเจ้าคณะตำบลชั้นโท
        ปี พ.ศ. 2516 ได้รับพระราชทานแต่งตั้งเป็นพระครูเจ้าคณะตำบลชั้นเอก 
        ปี พ.ศ. 2524 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะ ที่ พระอุดมสังวรเถร
        ปี พ.ศ. 2534 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็น พระราชอุดมมงคล
ภายหลังจากที่หลวงพ่ออุตตมะละสังขารไป บรรดาศิษยานุศิษย์ ทั้งหลายจึงร่วมกันจัดสร้าง ปราสาทหลวงพ่ออุตตมะขึ้น โดยมีเจตนาดังต่อไปนี้

ปราสาท หลวงพ่ออุตตมะ  ปราสาทหลังนี้ได้รับความบันดาลใจจากงานศิลปะ วัฒนธรรมและความเชื่อของชาวมอญหลายกลุ่มที่แยกย้ายกระจายกันอยู่ในจังหวัด ต่าง ๆ ของประเทศไทย หลอมรวมเป็นโอฬาริกบูชา แด่หลวงพ่อผู้เป็นที่เคารพสักการะของศิษยานุศิษย์ หงส์ทองทั้งคู่เป็นสัญญลักษณ์ของชาวมอญ ที่มีมาแต่โบราณกาล
คณะ ศิษย์มีความมุ่งหวังว่า ปราสาทหลังนี้จะได้รับการดูแลให้สดชื่นงดงามมิเสื่อมคลาย ด้วยศรัทธาและแรงใจของผู้ที่มาแสดงความคารวะทั้งปวง
พวก เราเกือบที่จะไม่ได้เข้าไปในปราสาทหลวงพ่ออุตตมะเสียแล้ว เนื่องจากไม่รู้มาก่อนว่ามีการสร้างขึ้น อีกทั้งโดยปกติแล้วปราสาทจะเปิดในวันสำคัญเท่านั้น ภายในปราสาทถูกตกแต่งเอาไว้ด้วยดอกไม้ต่าง ๆ
นอก จากนี้แล้วยังมีรูปจำลององค์หลวงพ่ออุตตมะนั่งอยู่ตรงกลาง และมีการจัดแสดงสิ่งของเครื่องใช้ของหลวงพ่ออยู่ด้วย เช่น โต๊ะเก้าอี้ที่ท่านเคยใช้
ตัว ปราสาทด้านหลังประดับยอดฉัตร ซึ่งมีหงส์ทออยู่บนยอด ซึ่งหงส์นี้เอง เป็นสัญญลักษณ์ของชาวมอญ นอกจากนี้ยังมีปราสาทน้อยอีก 2 หลังอยู่ด้านซ้ายและด้านขวา ถูกตกแต่งประดับไว้อย่างสวยงาม

เรา เดินเยี่ยมชมและสักการะหลวงพ่ออุตตมะ และร่วมทำบุญผ่าป่า พร้อมทั้งรับประคำมงคลก่อนที่จะจากออกมาเพื่อเริมเดินทางต่อไปยังจุดหมายต่อ ไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น