วันอังคารที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2557

ศูนย์ปฏิบัติธรรมวัดช่องลม

ศูนย์ปฏิบัติธรรมวัดช่องลม 2 สวนผึ้ง

เจ้าคุณพระครูสาครมุนี เจ้าอาวาสวัดวิสุทธิวราราม (วัดช่องลม ท่าฉลอม) ต.ท่าฉลอม อ.เมือง จ.สมุทรสาคร ได้มาพัฒนาสร้างศูนย์ปฏิบัติธรรมวัดช่องลม สาขา 2 ที่ ต.สวนผึ้ง อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี เพื่อให้เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมและเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรม เป็นสถานที่อบรมจริยธรรมและคุณธรรมแก่เยาวชนมาหลายปีแล้ว
พร้อมกันนี้เจ้าคุณพระครูสาครมุนี ได้สร้างพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะที่สวยงามชื่อว่า หลวงพ่อยิ้มศักดิ์สิทธิ์ เพราะญาติโยมไปถึงจะพากันไปกราบไหว้หลวงพ่อยิ้มกันก่อน และเมื่อวันที่ 3 มกราคม 2555 ที่ผ่านมา ที่ศูนย์ปฏิบัติธรรมวัดช่องลม 2 สวนผึ้งแห่งนี้ ได้มีพิธีบวงสรวงใหญ่องค์พระพิฆเนศปางประทานพร หน้าตักกว้าง 9 เมตร สูง 12 เมตร นับว่าเป็นองค์พระพิฆเนศที่ใหญ่ที่สุดในแนวเทือกเขาตะนาวศรี  ท่ามกลางหุบเขาสวยงาม ด้านหลังติดธารน้ำลำภาชี
ด้านหลังติดมีธารน้ำลำภาชีคั่นกลางระหว่างวัดและภูเขา

ปราสาทหลวงพ่ออุตตมะ วัดวังวิเวการาม

ปราสาทหลวงพ่ออุตตมะ วัดวังวิเวการาม


เรา เดินออกจากสะพานมอญ หรือสะพานอุตตมานุสรณ์ หลังจากที่เดินไปได้แค่เพียงครึ่งทาง เนื่องด้วยบนสะพานนั้นแดดร้อนมากกกกก และเวลาที่เรามีอยู่นั้นมันดูจะน้อยไปที่จะเดินไปจนสุดสะพานอย่างที่เคย ๆ ทำมา รถ พาเรามายังอีกฟากหนึ่งของเจดีย์พุทธคยา นั้นคือ บริเวณวัดวังวิเวการาม ซึ่งแต่เดิมนั้นเป็นที่พำนักของหลวงพ่ออุตตมะ หลวงพ่อผู้เป็นจุดรวมแห่งศรัทธาของชาวมอญบนพลัดถิ่นบนผืนแผ่นดินไทย
สำหรับ "วัดวังก์วิเวการาม"หรือ "วัดหลวง พ่ออุตตมะ" เป็นวัดที่หลวงพ่ออุตตมะ ร่วมกับชาวบ้านอพยพชาวกะเหรี่ยงและชาวมอญ ได้ร่วมกันสร้างขึ้น ในปี พ.ศ.2496 ที่บ้านวังกะล่าง อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี ใกล้กับชายแดนไทย-พม่า ห่างจากอำเภอเมืองกาญจนบุรี ประมาณ 220 กิโลเมตร

ใน ระยะแรกมีเพียงกุฏิและศาลา มีฐานะเป็นสำนักสงฆ์ แต่ชาวบ้านโดยทั่วไปเรียกว่า วัดหลวงพ่ออุตตมะ ตั้งอยู่บนเนินสูงในบริเวณที่เรียกว่า สามประสบ ซึ่งเป็นจุดที่แม่น้ำ 3 สาย คือแม่น้ำซองกาเลีย แม่น้ำบีคลี่ แม่น้ำรันตี ไหลมาบรรจบกัน
ใน ปี พ.ศ.2505 ได้รับอนุญาตจากกรมการศาสนาให้ใช้ชื่อว่า วัดวังก์วิเวการาม ซึ่งตั้งตามชื่ออำเภอเดิม คืออำเภอวังกะ-สังขละบุรี ซึ่งต่อมาถูกยุบเป็นกิ่งอำเภอ ก่อนที่จะยกฐานะเป็น อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรีในปี พ.ศ.2508
วัด วังก์วิเวการาม ก่อสร้างด้วยศิลปะแบบพม่า มีพระพุทธรูปหินอ่อน และ งาช้างแมมมอธ มีเจดีย์พุทธคยาจำลอง สร้างจำลองแบบจาก เจดีย์พุทธคยา ประเทศอินเดีย โดยเริ่มก่อสร้าง พ.ศ.2518 แล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ.2529

แม้ในวันนี้วัดวังวิเวการามจะไม่มีร่มโพธิร่มไทรอย่าง หลวงพ่ออุตตมะที่จากไปตั้งแต่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2549 อายุรวมได้ 97 ปี

“พระมหาอุตตมะรัมโภภิกขุ” หรือที่รู้จักกันทั่วไปในนามของ “หลวงพ่ออุตตมะ” พระเกจิอาจารย์ชื่อดังของจังหวัดกาญจนบุรี ทั้งยังเป็นพระภิกษุสงฆ์ชาวมอญ ผู้มีบทบาทผู้นำคนสำคัญของชาวมอญพลัดถิ่นที่สังขละบุรี

เกิด เมื่อวันอาทิตย์ขึ้น 6 ค่ำ เดือน 4 ปีจอ จุลศักราช 1272 (พ.ศ. 2453) ที่หมู่บ้านโมกกะเนียง ตำบลเกลาสะ อำเภอเย จังหวัดมะละแหม่ง   เป็นบุตรของนายโงและนางทองสุข อาชีพทำนา มีพี่น้องรวม 12 คน เนื่องจากเป็นทารกเพศชายเกิดในวันอาทิตย์ จึงมีชื่อว่า “เอหม่อง”

ปี พ.ศ. 2462 ขณะเด็กชายเอหม่องมีอายุได้ 9 ขวบ เกิดอหิวาตกโรคระบาดขึ้นในหมู่บ้าน บิดามารดาจึงพาเด็กชายเอหม่องไปฝากกับพระอาจารย์นันสาโรแห่งวัดโมกกะเนียง ผู้เป็นลุงเพื่อให้ปรนนิบัติรับใช้และศึกษาพระธรรมเป็นเครื่องคุ้มครองจาก โรคภัย เด็กชายเอหม่องเป็นผู้ใฝ่ใจในการศึกษาอย่างยิ่ง จนสามารถสอบได้ชนะเด็กในวัยเดียวกันเป็นประจำทุก ๆ ปี
 ปี พ.ศ. 2467 เด็กชายเอหม่องอายุได้ 14 ปี เกิดอหิวาตกโรคระบาดครั้งใหญ่อีกครั้งหนึ่ง ส่งผลให้ต้องสูญเสียน้องชายถึง 5 คน เด็กชายเอหม่องจึงขอออกจากวัดโนกกะเนียงเพื่อมาช่วยเหลือทางบ้านด้วยความ ขยันขันแข็ง จนกระทั่งอายุ 18 ปี เจ้าอาวาสวัดเกลาสะได้ไปขอกับบิดามารดาให้เด็กชายเอหม่องไปบรรพชาเป็นสามเณร
หลวง พ่ออุตตมะ บรรพาเป็นสามเณร ณ วัดเกลาสะ ตำบลเกลาสะ อำเภอเย จังหวัดมะละแหม่ง เมื่อจุลศักราช 1291 (พ.ศ. 2472) โดยมีพระเกตุมาลาเป็นพระอุปัชฌาย์ ปีนั้นเอง หลวงพ่อศึกษาภาษาบาลี และพระปริยัติธรรมจนสอบได้นักธรรมตรี อีกปีหนึ่งต่อมาสอบได้นักธรรมโท แต่ไม่นาน หลวงพ่อก็ตัดสินใจสึกออกมาเพราะเห็นว่าไม่มีใครช่วยบิดามารดาทำนา

จน กระทั่งหม่องเอ ซึ่งเป็นลูกของพี่สาวของบิดา ได้มาอาศัยอยู่ด้วย หลังจากที่บิดามารดาของหม่องเอเสียชีวิตจนหมดสิ้น ซึ่งเท่ากับว่ามีคนมาช่วยแบ่งเบาภาระในการทำนา และมีญาติซึ่งไว้วางใจได้มาคอยดูแลบิดามารดา

หลวง พ่ออุตตมะจึงตัดสินใจอุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดเกลาสะ โดยมีพระเกตุมาลา วัดเกลาสะ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระนันทสาโร วัดโมกกะเนียง เป็นพระกรรมวาจารย์ พระวิสารทะ วัดเจ้าคะเล เป็นพระอนุสาวนาจารย์ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2476 ได้รับฉายาว่า “อุตตมรัมโภ” แปลว่า ผู้มีความพากเพียรอันสูงสุด”  โดยหลวงพ่ออุตตมะได้ตั้งเจตจำนงที่จะบวชไม่สึกจนตลอดชีวิต

ด้วย ความพากเพียรและใฝ่ใจในการศึกษาพระธรรม ในปี พ.ศ. 2474 หลวงพ่ออุตตมะ สามารถสอบได้ นักธรรมชั้นเอก ณ สำนักเรียนวัดปราสาททอง อำเภอเย จังหวัดมะละแหม่ง ต่อมาในปี พ.ศ. 2484 สอบได้เปรียญธรรม 8 ประโยค ที่สำนักเรียนวัดสุขการี อำเภอสะเทิม จังหวัดสะเทิม ซึ่งเป็นชั้นสูงสุดของคณะสงฆ์ในประเทศพม่า ขณะนั้น บ้านเมืองกำลังเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 หลวงพ่อจึงเดินทางกลับวัดเกลาสะ และได้รับมอบหมายให้เป็นอาจารย์สอนภาษาบาลีแก่ภิกษุสามเณร
ต่อ มาท่านก็ลาพระอุปัชฌาย์เดินทางไปศึกษาวิปัสนากรรมฐานที่วัดตองจอย จังหวัดมะละแหม่ง และวัดป่าเลไลย์ จังหวัดมัณฑะเลย์ จนมีความรู้ความสามารถในเรื่องวิปัสนากรรมฐานตลอดจนวิชาไสยศาสตร์และพุทธคม เป็นอย่างดี ปี พ.ศ. 2486 หลวงพ่อจึงเริ่มออกธุดงค์เพื่อหาประสบการณ์

หลวง พ่ออุตตมะ ออกธุดงค์ไปตามที่ต่าง ๆ ในประเทศพม่า และเข้ามาประเทศไทยครั้งแรกทางจังหวัดเชียงใหม่  ต่อมาทราบข่าวว่าพระเกตุมาลา พระอุปัชฌาย์กำลังอาพาธ จึงรีบเดินทางกลับพม่า จนกระทั่งพระเกตุมาลามรณภาพ ท่านก็ได้เดินทางเข้ามาประเทศไทยอีกครั้งหนึ่ง    โดยครั้งนี้ หลวงพ่อเดินทางเข้ามาทางตำบลปิล็อก อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี ประมาณปี พ.ศ. 2492
ใน ปี พ.ศ. 2492 อันเป็นพรรษาที่ 16 ของพระมหาอุตตมะรัมโภ พายุไต้ฝุ่นพัดจากทะเลอันดามัน สร้างความเสียหายให้กับชาวบ้านอย่างใหญ่หลวง โดยเฉพาะบ้านโมกกะเนียง และเกลาสะ มีผู้เสียชีวิตมากกว่าร้อยคน บ้านเรือนเหลือเพียงไม่กี่หลังคาเรือน ชาวบ้านลำบากยากแค้นแสนสาหัส ข้าวของอาหารการกินขาดแคลนกันทั่วหน้า
นอก จากภัยธรรมชาติแล้ว ชาวบ้านยังต้องประสบเคราะห์กรรมจากปัญหาความขัดแย้งในทางการเมืองอีกด้วย เนื่องจากการปะทะและต่อสู้ระหว่าง กองทหารของรัฐบาลพม่า กับกองกำลังติดอาวุธกู้ชาติ อีกทั้งกองกำลังกู้ชาติบางกลุ่มแปรตัวเองไปเป็นโจรปล้นสดมภ์ชาวบ้าน
ด้วย ความเบื่อหน่ายเรื่องการรบราฆ่าฟันกัน ระหว่างชนเผ่า หลวงพ่ออุตตมะ จึงตัดสินใจจากบ้านเกิด มุ่งหน้าสู่ดินแดนประเทศไทย เป้าหมายที่แท้จริงของท่านในเวลานั้น คือเขาพระวิหาร ปรากฏว่าเมื่อชาวบ้านรู้ข่าวต่างเสียใจ ไม่อยากให้ท่านจากไป พากันร้องไห้ระงมด้วยความอาลัย ซึ่งท่านได้ชี้แจงการออกเดินทางของท่านว่า
“การไปของเราจะเป็นปรหิต เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น”

หลวง พ่ออุตตมะ เดินทางเข้าเมืองไทยในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2492-2493 ทางหมู่บ้านอีต่อง ตำบลปิล็อก ชายแดนเขตจังหวัดกาญจนบุรี โดยได้รับความช่วยเหลือจากคนไทยสองคน ซึ่งมีเชื้อสายมอญพระประแดงที่มาทำเหมืองแร่ที่บ้านอีต่อง ทั้งคู่ได้จัดบ้านพักหลังหนึ่งให้เป็นกุฏิชั่วคราวของหลวงพ่อ มีชาวเหมืองจำนวนมากมาทำบุญกับหลวงพ่อ เนื่องจากพื้นที่บริเวณนั้นไม่มีวัดและพระสงฆ์เลย
เดิมที นั้น คนไทยเชื้อสายมอญพระประแดงทั้งสอง ต้องการสร้างกุฏิถวายหลวงพ่ออุตตมะให้จำพรรษาอยู่ที่บ้านอีต่อง แต่หลวงพ่อไม่รับ เนื่องจากเกรงว่าจะกลายเป็นพระเถื่อนเข้าเมืองไทย ท่านจึงต้องการไปขออนุญาตจากพระผู้ใหญ่ที่ปกครองเขตปิล็อกเสียก่อน ทั้งสองจึงพาหลวงพ่ออุตตมะ มาจำพรรษาที่วัดท่าขนุน อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี กับหลวงพ่อไตแนม ซึ่งเป็นชาวกะเหรี่ยงและอุปสมบทที่วัดเกลาสะเช่นเเดียวกับหลวงพ่ออุตตมะ
ปี พ.ศ. 2494 ขณะจำพรรษาที่วัดท่าขนุน อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี หลวงพ่ออุตตมะมีโอกาสไปสักการะพระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม ทำให้หลวงพ่อได้พบชาวไทยเชื้อสายมอญ ที่มาจากเมืองต่าง ๆ เช่น แม่กลอง สมุทรสาคร มีชาวบ้านกลุ่มหนึ่งได้นิมนต์หลวงพ่อ ไปจำพรรษาที่วัดบางปลา ตำบลบ้านเกาะ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร

หลัง จากเดินทางกลับจากวัดบางปลา มาจำพรรษาที่วัดท่าขนุน หลวงพ่อไตแนมขอให้หลวงพ่ออุตตมะ ไปจำพรรษาที่วัดปรังกาสีซึ่งเป็นวัดร้าง บริเวณวัดปรังกาสีมีชาวกะเหรี่ยงอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก และบริเวณนั้นไม่มีพระหรือวัดอื่นเลย หลวงพ่อร่วมกับกำนันชาวกะเหรี่ยงนิมนต์พระกะเหรี่ยง จากตลอดแม่น้ำแควใหญ่และแควน้อยได้ 42 รูป มาอยู่ปริวาสที่วัดปรังกาสี 9 วัน 9 คืน หลัง
จากนั้นก็สร้างกุฏิและเจดีย์ขึ้น หลวงพ่ออุตตมะนิมนต์พระกะเหรี่ยงมาจำพรรษาที่วัด 3 รูป ท่านสอนภาษามอญแก่พระทั้ง 3 รูปนี้ เพื่อเป็นพื้นฐานในการสอนธรรมะต่อไป
หลวง พ่ออุตตมะจำพรรษาอยู่วัดปรังกาสีหนึ่งพรรษา ต่อมาผู้ใหญ่ทุม จากท่าขนุนมานิมนต์หลวงพ่อไปเยี่ยมหลวงปู่แสงทีวัดเกาะ อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี ซึ่งเคยไปจำพรรษาที่วัดโมกกะเนียง เกลาสะ และมะละแหม่งมาก่อน และในพรรษานั้น หลวงพ่ออุตตมะได้จำพรรษาอยู่ที่วัดเกาะ ตามคำนิมนต์ของหลวงปู่แสง

ปี พ.ศ. 2494  ขณะที่หลวงพ่อจำพรรษาอยู่ที่วัดเกาะ มีคนมาแจ้งข่าวแก่หลวงพ่อว่า ที่กิ่งอำเภอสังขละบุรีมีชาวมอญจากบ้านเดิมของหลวงพ่ออพยพเข้าเมืองไทย ทางบีคลี่เป็นจำนวนมาก และต้องการนิมนต์หลวงพ่อไปเยี่ยม
เมื่อ หลวงพ่ออุตตมะออกจากจำพรรษา แล้วเดินทางกลับไปยังอำเภอทองผาภูมิ และไปยังอำเภอสังขละบุรี และพบกับคนมอญทั้งหมดที่มาจากโมกกะเนียง เจ้าคะเล และมะละแหม่ง บ้านเกิดของท่าน หลวงพ่อจึงพาชาวมอญเหล่านี้ไปอาศัยอยู่ที่บ้านวังกะล่าง นับเป็นจุดกำเนิดแรกเริ่มของชุมชนชาวมอญในสังขละบุรี
หลวง พ่ออุตตมะ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระครูอุดมสิทธาจารย์ เมื่อ พ.ศ. 2512 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะ ที่พระอุดมสังวรเถร เมื่อ พ.ศ. 2524 และได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็น พระราชอุดมมงคล เมื่อ พ.ศ. 2534

หลวง พ่ออุตตมะ เข้ารับรักษาตัวที่โรงพยาบาลศิริราช ตั้งแต่วันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547 ด้วยโรคไต โรคหัวใจ โรคปอด สมองขาดเลือดไปเลี้ยง ท่านไม่รู้สึกตัวและไม่สามารถลืมตาเองได้เป็นเวลากว่า 1 ปี จนกระทั่งเกิดอาการติดเชื้ออย่างรุนแรง และมรณภาพจากการติดเชื้อในกระแสโลหิตจากภาวะปอดอักเสบ เมื่อเวลา 7.22 น. ของวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2549 อายุรวม 97 ปี

กำเนิดวัดหลวงพ่ออุตตมะ      
        ในปี พ.ศ. 2499 หลวงพ่ออุตตมะ ร่วมกับชาวบ้าน สร้างสำนักสงฆ์ แต่ชาวบ้านโดยทั่วไปเรียกว่า “วัดหลวงพ่ออุตตมะ”
        ในปี พ.ศ. 2505  เมื่อได้รับอนุญาตจากกรมการศาสนาเป็นที่เรียบร้อย หลวงพ่ออุตตมะจึงได้ตั้งชื่อสำนักสงฆ์ตามชื่ออำเภอเก่า (อำเภอวังกะ) ว่า  “วัดวังก์วิเวการาม”
         ในปี พ.ศ. 2513 หลวงพ่อเริ่มสร้างพระอุโบสถวัดวังก์วิเวการามโดยปั้นอิฐเอง
        ในปี พ.ศ. 2518 หลวงพ่อได้เริ่มสร้างเจดีย์จำลองแบบจากเจดีย์พุทธคยาที่ประเทศอินเดีย และสร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2529
ตำแหน่งด้านการปกครองคณะสงฆ์และสมณศักดิ์
        ปี พ.ศ. 2504  เป็นเจ้าอาวาสวัดวังก์วิเวการาม
        ปี พ.ศ. 2505 เป็นเจ้าอาวาสวัดศรีสุวรรณาราม
        ปี พ.ศ. 2509 เป็นพระกรรมวาจาจารย์
        ปี พ.ศ. 2511 เป็นพระอุปัชฌาย์
        ปี พ.ศ. 2512 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็น พระครูอุดมสิทธาจารย์ ตำแหน่งเจ้าคณะตำบลชั้นโท
        ปี พ.ศ. 2516 ได้รับพระราชทานแต่งตั้งเป็นพระครูเจ้าคณะตำบลชั้นเอก 
        ปี พ.ศ. 2524 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะ ที่ พระอุดมสังวรเถร
        ปี พ.ศ. 2534 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็น พระราชอุดมมงคล
ภายหลังจากที่หลวงพ่ออุตตมะละสังขารไป บรรดาศิษยานุศิษย์ ทั้งหลายจึงร่วมกันจัดสร้าง ปราสาทหลวงพ่ออุตตมะขึ้น โดยมีเจตนาดังต่อไปนี้

ปราสาท หลวงพ่ออุตตมะ  ปราสาทหลังนี้ได้รับความบันดาลใจจากงานศิลปะ วัฒนธรรมและความเชื่อของชาวมอญหลายกลุ่มที่แยกย้ายกระจายกันอยู่ในจังหวัด ต่าง ๆ ของประเทศไทย หลอมรวมเป็นโอฬาริกบูชา แด่หลวงพ่อผู้เป็นที่เคารพสักการะของศิษยานุศิษย์ หงส์ทองทั้งคู่เป็นสัญญลักษณ์ของชาวมอญ ที่มีมาแต่โบราณกาล
คณะ ศิษย์มีความมุ่งหวังว่า ปราสาทหลังนี้จะได้รับการดูแลให้สดชื่นงดงามมิเสื่อมคลาย ด้วยศรัทธาและแรงใจของผู้ที่มาแสดงความคารวะทั้งปวง
พวก เราเกือบที่จะไม่ได้เข้าไปในปราสาทหลวงพ่ออุตตมะเสียแล้ว เนื่องจากไม่รู้มาก่อนว่ามีการสร้างขึ้น อีกทั้งโดยปกติแล้วปราสาทจะเปิดในวันสำคัญเท่านั้น ภายในปราสาทถูกตกแต่งเอาไว้ด้วยดอกไม้ต่าง ๆ
นอก จากนี้แล้วยังมีรูปจำลององค์หลวงพ่ออุตตมะนั่งอยู่ตรงกลาง และมีการจัดแสดงสิ่งของเครื่องใช้ของหลวงพ่ออยู่ด้วย เช่น โต๊ะเก้าอี้ที่ท่านเคยใช้
ตัว ปราสาทด้านหลังประดับยอดฉัตร ซึ่งมีหงส์ทออยู่บนยอด ซึ่งหงส์นี้เอง เป็นสัญญลักษณ์ของชาวมอญ นอกจากนี้ยังมีปราสาทน้อยอีก 2 หลังอยู่ด้านซ้ายและด้านขวา ถูกตกแต่งประดับไว้อย่างสวยงาม

เรา เดินเยี่ยมชมและสักการะหลวงพ่ออุตตมะ และร่วมทำบุญผ่าป่า พร้อมทั้งรับประคำมงคลก่อนที่จะจากออกมาเพื่อเริมเดินทางต่อไปยังจุดหมายต่อ ไป

วัดอรัญญิกาวาส ตำบลเจดีย์หัก

วัดอรัญญิกาวาส ตำบลเจดีย์หัก อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี

วัดอรัญญิกาวาส ตำบลเจดีย์หัก อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี
วัดอรัญญิกาวาส ตำบลเจดีย์หัก อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี (เดิมชื่อ “วัดเจริญธรรมวิหาร”) เป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญอีกหนึ่งแห่งของจังหวัดราชบุรีครับ มีประวัติยาวนานเคียงคู่บ้านคู่เมืองเรา โบราณสถานที่งดงามมีให้เราได้ชมกันอย่าง พระปรางค์ ซึ่งสร้างเมื่อ พ.ศ. 2030 – 2035 ในปัจจุบันนี้ พ.ศ. 2554 รวมอายุได้ 524 ปีเข้าไปแล้ว ลักษณะเป็นเจดีย์ 5 องค์ แบบบัวผันสร้างไว้ 4 มุม รอบพระปรางค์ ซึ่งปัจจุบันนี้เหลือทางทิศใต้เท่านั้น ลักษณะเป็นหินทราย และผู้สร้าง นั้นคือ ขุนหาญ บุญไทย พระปรางค์นี้ ได้ทำการบูรณะครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2425 – 2440 จึงแล้วเสร็จ
โบราณสถานที่สำคัญ ณ วัดอรัญญิกาวาส อีกหนึ่ง นั่นคือ พระนอนองค์ใหญ่

 

วัดอรัญญิกาวาส อยู่ด้านหลังพระปรางค์ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2030 – 2035 เช่นกัน ซึ่งมีลักษณะหินทรายแดง มีความหนา 15 วา ทำการบูรณะซ่อมแซมโดยการสร้างครอบองค์จริง องค์ที่สร้างใหม่ มีความยาว 30 วา ทำการบูรณะโดยท่านเจ้าพระคุณพระมหาสมณวงค์ (แท่น) ครั้งสุดท้าย เมื่อ พ.ศ. 2515 โดยกรมศิลปากรเป็นผู้ดำเนินการ ทั้งนี้ ได้ทำการบูรณะเสร็จเรียบร้อยเมื่อ พ.ศ. 2547 ในสมัยของพระครูมงคลเจติยานรักษ์ (พระไฝ นาคาเสโน)

วัดอรัญญิกาวาส ตำบลเจดีย์หัก อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี

ใครแวะไปจังหวัดราชบุรี ก็อย่าลืมไปไหว้พระ ขอพร ที่วัดอรัญญิกาวาสได้นะครับ วัดแห่งนี้ห่างจากตัวเมืองประมาณ 4 กิโลเท่านั้นเอง
ไหว้พระ สบายใจ และก็ยังได้ชมโบราณสถานสำคัญของไทยเราด้วย

วัดมหาธาตุ วรวิหาร จ.ราชบุรี





วัดมหาธาตุ วรวิหาร จ.ราชบุรี
พระอารามหลวง ชั้นตรี ชนิดวรวิหาร

   วัดมหาธาตุ วรวิหาร ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมืองราชบุรี ตั้งอยู่เกือบใจกลางเมืองราชบุรี
นักโบราณคดีและนักประวัติศาสตร์ศิลปะสันนิษฐานจาก หลักฐานทางโบราณคดีว่า แรกสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยวัฒนธรรมทวารวดี ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓ ต่อมาในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘ วัฒนธรรมเขมรจากราชอาณาจักรกัมพูชาได้แพร่เข้าสู่ดินแดนราชบุรี จึงได้มีการก่อสร้างและดัดแปลงศาสนสถานกลางเมืองราชบุรีขึ้นเป็นพระปรางค์ และสร้างกำแพงศิลาแลงล้อมรอบเพื่อให้เป็นศูนย์กลางของเมืองตามคติความเชื่อ เรื่องภูมิจักรวาลของเขมร ต่อมาในสมัยอยุธยาตอนต้น ราวพุทธศตวรรษที่ ๒๐ – ๒๑ ได้มีการก่อสร้างพระปรางค์แบบอยุธยาขึ้งซ้อนทับและสร้างพระปรางค์บริวารขึ้น อีก ๓ องค์บนฐานเดียวกัน
ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้ทรงพระกรุณาโปรกเกล้าฯ ให้ย้ายเมืองราชบุรีจากฝั่งตะวันตกมายังฝั่งตะวันออก ประชาชนก็ย้ายตามความเจริญไปด้วย วัดมหาธาตุจึงกลายเป็นวัดร้างไม่มีพระสงฆ์จำพรรษา ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ใน พ.ศ. ๒๓๓๘ พระภิกษุองค์หนึ่งชื่อพระบุญมา ได้ธุดงค์มาเห็นวัดนี้มีสถานที่ร่มรื่น เหมาะสำหรับการปฏิบัติธรรมจึงได้ขอความร่วมมือจากพุทธศาสนิกชนช่วยกันปัดกวาดซ่อมแซมเสนาสนะต่างๆ ในที่สุดวัดมหาธาตุจึงกลับมาเป็นศูนย์กลางของศาสนาเช่นเดิม และยังคงเป็นมาจนถึงปัจจุบัน สิ่งสำคัญในวัด ได้แก่


พระปรางค์ประธาน เป็นสถาปัตยกรรมที่สร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ ๑๘ และได้รับการซ่อมแวมเพิ่มเติมในสมัยอยุธยาตอนต้นตรงส่วนที่เป็นซุ้มด้าน ตะวันออก และภาพจิตรกรรมภายใน ประกอบด้วยพระปรางค์ประธานและพระปรางค์บริวาร ๓ องค์บนฐานเดียวกันมีการตกแต่งองค์พระปรางค์ทั้งหมดด้วยลวดลายปูนปั้นอย่างงด งาน ด้านตะวันออกของพระปรางค์ประธานมีบันไดและขึ้นมุขยื่น ภายในเป็นคูหาเชื่อมต่อกับพระปรางค์ ผนังภายในองค์พระปรางค์ทุกด้านมีภาพจิตรกรรมรูปพระอดีตพุทะเจ้า สันนิษฐานว่าเขียนขึ้นในสมัยเดียวกันกับการสร้างองค์พระปรางค์




พระวิหารหลวง อยู่ด้านหน้าพระปรางค์ภายนอกระเบียงคด เป็นซากอาคารในแผนผังสี่เหลี่ยมผืนผ้า ฐานด้านล่างสุดก่อด้วยศิลาแลง ด้านหน้ามีมุขยื่น บนพระวิหารเคยมีเจดีย์ขนาดเล็กตั้งอยู่ แต่พังทลายลงหมด บนฐานวิหารมีอาคารไม้โล่ง หลังคาเครื่องไม่มุงสังกะสี อาคารหลังนี้กล่าวกันว่านายหยินบิดาของขุนสิทธิสุวรรณพงศ์ อดีตนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองราชบุรีเป็นผู้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๔ พระวิหารนี้เคยเป็นที่ตั้งโรงเรียนพระอภิธรรมราชบุรี ภายในอาคารพระวิหารประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นแกนหินทรายขนาดใหญ่แสดงปาง มารวิชัย ๒ องค์ ประทับนั่งหันพระปฤษฎางค์ชนกัน พุทธศิลปะแบบอยะยาตอนต้น ด้านข้างทั้งสองและด้านหน้าของพระวิหารที่มุมด้านตะวันออกแยงเหนือและด้าน ตะวันออกเฉียงใต้ มีวิหารขนาดเล็ก ประดิษฐานพระพุทธรูปหินทรายสีแดงปางมารวิชัยประทับนั่งหันพระปฤษฎางค์ชนกัน คล้ายกับพระพุทธรูปบนพระวิหารหลวง
กำแพงแก้ว ก่อด้วยศิลาแลงรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ล้อมรอบองค์พระปรางค์ทั้งสี่ด้าน เหนือกำแพงมีในเสมาทำด้วยหินทรายสีชมพูจำหลักพระพุทธรูปประทับนั่งปางสมาธิ ในซุ้มเรือนแก้ว ลักษณะพุทธศิลปะเขมรแบบบายน (ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘) เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๐ ทางวัดมหาธาตุได้ดำเนินการขุดเพื่อก่อสร้างอาคาร บริเวณด้านข้างวิหารเล็กที่มุมขนาดย่อมนอกจากนั้นยังพบชิ้นส่วนสถาปัตยกรรม ส่วนยอดของพระปรางค์ สันนิษฐานว่าคงเป็นอาคารที่สร้างขึ้นคราวเดียวกับกำแพงแก้ว
ราวบันไดรูปครุฑยุคนาค พบจำนวน ๒ ชิ้น จำหลักจากหินทรายสีแดงตั้งอยู่ที่ทางเข้าภายในระเบียงคดด้านทิศตะวันออก ปัจจุบันอยู่ในสภาพชำรุดลบเลือนชิ้นหนึ่งเป็นรูปครุฑจับนาค ๓ เศียร ด้านหลังเป็นเศียรนาค ๕ เศียรแผ่พังพาน อีกชิ้นหนึ่งเป็นรูปนาคห้าเศียรไม่มีรูปครุฑประกอบ ทั้งสองชิ้นเป็นศิลปะเขมรแบบบายน ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘
พระอุโบสถ สันนิษฐานจากลักษณะทางสถาปัตยกรรมว่าสร้างขึ้นตอนปลายสมัยอยุธยาราวพุทธ ศตวรรษที่ ๒๒ ได้รับการซ่อมแซมครั้งล่าสุดเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๙ เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน หลังคาลด ๒ ชั้น ๓ ตับ เป็นเครื่องไม้มุงกระเบื้อง ด้านหน้าและด้านหลังทำพาไลยื่นรองรับโครงหลังคาด้วยเสาปูนจำนวน ๓ ตับ ด้านข้างมีชายคาปีกนกโดยรอบ ฐานอาคารมีลักษณะศิลปะสถาปัตยกรรมแบบอยุธยาตอนปลาย คือแอ่นโค้งคล้ายท้องเรือสำเภาหรือที่เรียกว่าแอ่นท้องช้าง ซุ้มประตูหน้าต่างปั้นปูนประดับกระจกเป็นซุ้มหน้านาง ภายในพระอุโบสถประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัยประทับนั่งบนฐานดอกบัว ด้านนอกโดยรอบมีกำแพงแก้วก่ออิฐถือปูนล้อมรอบ
พระมณฑป ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของพระปรางค์ประธานภายนอกกำแพงแก้วปัจจุบันอยู่ในเขตสังฆาวาสของวัด เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนในผังสี่เหลี่ยมย่อมุมไม้ยี่สิบบนฐานเขียงรองรับฐานสิงห์ ผนังรอบด้านมีซุ้มหน้าต่างทรงมณฑปด้านละ ๑ ซุ้ม เว้นด้านตะวันออกเป็นซุ้มประตูทางเข้ามีบันไดขึ้น – ลง เครื่องหลัวคาของพระมณฑปพังทลายลงหมดแล้ว ภายในพระมณฑปประดิษฐานรอยพระพุทธบาททำด้วยหินทรายสีแดง ฝาผนังด้านในมีภาพจิตรกรรมเรื่องพุทธประวัติตอนเสด็จโปรดพระพุทธมารดาบนดาวดึงส์ และตอนผจญกองทัพพญามาร ปัจจุบันมีสภาพลบเลือนเกือบหมด เพราะไม่มีหลังคาคลุมทำให้น้ำฝนชะล้างสีจนภาพเลอะเลือน พระมณฑปหลังนี้สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
พระเจดีย์ เป็นเจดีย์รายเรียงเป็นแถวอยู่ด้านหน้าพระมณฑปจำนวน ๕ องค์ เป็นพระเจดีย์ทรงระฆังกลมจำนวน ๔ องค์ และพระเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสองอีก ๑ องค์ ทั้งหมดเป็นศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์ ที่ฐานของพระเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสองมีจารึกบนแผ่นหินอ่อนความว่า พระพุทธศักราช ๒๔๖๒ สามเณรเซียะเล็ก พร้อมบุตรทิพ เจริญ ฮกเซ่งพิจารณาเห็นว่า พระเจดีย์เป็นปูชนียวัตถุถาวรจึงได้พร้อมใจกันมีศรัทธาสร้างขึ้นไว้ในพระพุทธศาสนานิพ์พานปัจจ์โยโหตุอนาคตะฯ

วัดพระศรีอารย์ โบสถ์ร้อยล้าน

วัดพระศรีอารย์ โบสถ์ร้อยล้าน (อ.โพธาราม)


อุโบสถทองคำร้อยล้าน The Golden Ubosot at Wat Phra Si An  อุโบสถทองคำร้อยล้าน ณ วัดพระศรีอารย์ อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรีแสดงถึงความยิ่งใหญ่อลังการแห่งพลังศรัทธาของชาวราชบุรีที่มี ต่อ พระพุทธศาสนาในการก่อสร้างอุโบสถทองคำมูลค่าร้อยล้าน ใช้เวลาก่อสร้างนานถึง 37 ปี
  • ชมลวดลายปูนปั้นที่สร้างขึ้นเฉพาะไม่มีแบบสำเร็จรูป
  • ฝาผนังแต่งแต้มด้วย จิตรกรรมเรื่องพระมหาชนก พระเจ้า ๕ พระองค์
  • กราบไหว้พระศรีอารย์พระพุทธรูปคู่วัด  พระพุทธลักษณะสมัยคันธาระ เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่ทุกคนเคารพกราบไหว้
  • พระประธาน พระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะพม่า สร้างด้วยหยกขาวทั้งองค์
  • กราบสักการะร่าง ของหลวงพ่อขันธ์ที่ ไม่เน่าเปื่อยอยู่ในโลงแก้ว
  • ชมโบสถ์หลังเก่าและบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์
  • แหล่งเรียนรู้การทำว่าวไทยกับปราชญ์ชาวบ้าน
  • ศูนย์อบรมค่ายพุทธบุตร สอนให้ยุวชนเข้าใจถึงหลักคำสั่งสอนของพระพุทธองค์
เหล่านี้เป็นสิ่งที่คุณไม่ควรพลาดเมื่อมาที่ วัดพระศรีอารย์



ประวัติวัดพระศรีอารย์
วัดพระศรีอารย์ ตั้ง อยู่เลขที่ 139 ซอยสุขาภิบาล 8 หมู่ที่ 9 ตำบลบ้านเลือก อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี มีเนื้อที่โดยประมาณ 40 ไร่ รอบๆบริเวณวัดโดยทั่วไปเป็นป่าโปร่ง มีต้นไม้ใหญ่อยู่มากมาย มีบรรยากาศร่มรื่นเหมาะแก่การใช้เป็นแหล่งปฏิบัติธรรม  แต่เดิมสร้างสมัยปลายกรุงศรีอยุธยา เมื่อปี 2275 มีอายุประมาณ 280 ปี เดิมชื่อวัดสระอาน ไม่มีพระภิกษุมาอยู่จำพรรษา   อุโบสถเดิมก่ออิฐถือปูนขนาด กว้าง 4 เมตร ยาว 9 เมตร เป็นอุโบสถมหาอุดเข้าออกได้ทางเดียว มีสระน้ำโบราณอยู่คู่กับ อุโบสถด้านทิศเหนือ มีน้ำขังตลอดทั้งปี ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นสระน้ำเก่าที่ศักดิ์สิทธิ์ ขณะที่ขุดค้นพบนั้นมีสภาพเก่าชำรุดทรุดโทรมมาก ภายในอุโบสถมีพระประธานที่เก่าแก่ เป็นอิฐเผาถือปูน บริเวณรอบๆ อุโบสถเป็นป่ามีต้นไม้น้อยใหญ่ขึ้นปกคลุมอยู่ จนถึงประมาณปี 2475  เริ่มมีพระภิกษุเข้ามาพักจำพรรษาเรื่อยมาในปี 2500 ได้เปลี่ยนชื่อจาก วัดสระอาน มาเป็น วัดพระศรีอารย์


อุโบสถทองคำร้อยล้าน ใช้เวลาก่อสร้างนานถึง 37 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2510  โดย พระครูสิริพัฒนกิจ (หลวงพ่อขันธ์ กนฺตธโร) อดีตเจ้าวัดพระศรีอารย ์ เป็นผู้ริเริ่ม และได้รับ พระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๑๐ การก่อสร้าง อุโบสถครั้งนี้ เพื่อใช้เป็น สถานที่ประกอบพิธีกรรมของภิกษุสงฆ์ อีกทั้ง ยังเป็น กาาแสดงถึงมรดกของไทย ด้านศิลปกรรม และจิตรกรรม  อุโบสถทำจากคอนกรีตเสริมเหล็ก ขนาดกว้าง ๑๘ เมตร ยาว ๔๐ เมตร ประดับด้วยลวดลายรูปปั้น เป็นฝีมือช่างพื้นบ้าน อุโบสถหลังใหม่นี้ไม่มีแบบสำเร็จรูป เป็นการสร้างตามแบบที่หลวงพ่อขันธ์ ต้องการ และที่ สำคัญไม่มีการตอกเสาเข็ม เพราะ ในสมัยนั้น การก่อสร้างในต่างจังหวัด ยังไม่มีการ ตอกเสาเข็ม เพียงแต่นำหินมาถมและเทคานรองรับเพื่อสร้างตัวอุโบสถได้เลย ช่างผู้รับงานก่อสร้างเป็นคนบ้านพระศรีอารย์ ส่วนแรงงานเป็นการลงแรงของคนในชุมชน และใกล้เคียง การก่อสร้าง  ส่วนมากทำในเวลาที่ว่างจากงานประจำของชาวบ้าน กระทั่งในปี ๒๕๑๗ เกิดน้ำท่วมใหญ่ ทำให้ชาวบ้านหวั่นวิตกว่า อุโบสถที่อยู่ระหว่าง ก่อสร้างจะพังลงมา เพราะไม่มีเสาเข็ม แต่หลัง จากน้ำลดลงแล้ว ไม่ปรากฏความเสียหายใดๆ 
 

การก่อสร้าง ต้องหยุดชะงักลงระยะหนึ่ง เมื่อหลวงพ่อขันธ์มรณภาพ พระครูวิทิตพัฒนโสภณ (สง่า ฐานิสฺสโร) เจ้าอาวาสวัดพระศรีอารย์ รูปปัจจุบันได้เป็นผู้สานต่องานทั้งหมด ต่อมา นายประเสริฐ อรชร ได้เข้ามารับช่วงการก่อสร้างต่อ จึงได้ดำเนินการเทคานรอบตัวอาคาร อีกครั้ง เพื่อความมั่นคง การ ก่อสร้างในสมัยที่นายประเสริฐเข้ามารับงานนี้ เป็นการตกแต่งเพื่อความสมบูรณ์มากกว่า เพราะโครงสร้างของอาคาร ได้เสร็จก่อนหน้านี้แล้ว ดังนั้น งานใหญ่ที่สำคัญคือ การติดลายปูนปั้นต่าง ทั้งภายในและรอบนอกอุโบสถ
ส่วนพระ ประธาน ในอุโบสถ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะพม่า สร้างด้วยหยกขาวทั้งองค์ โดยมี หลวงพ่ออุตตมะ (พระราชสังวรอุดม) วัดวังก์วิเวการาม จ.กาญจนบุรี เป็นประธานในการอัญเชิญ มาประดิษฐานไว้ ณ อุโบสถร้อยล้านหลังนี้ เมื่อวันที่ ๓ มกราคม ๒๕๓๖ นอกจากนี้ยังมีพระพุทธรูปคู่วัด คือ พระศรีอารย์ เป็นพระพุทธรูปเก่า แก่พิมพ์พระศรีอารย์ซึ่งมีลักษณะเด่น คือ มีตาลปัตรอยู่ด้านหน้าองค์พระพุทธรูป จีวรจับกลีบคล้ายพระพุทธลักษณะสมัยคันธาระ เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่ทุกคนเคารพกราบไหว้

 

ภายในอุโบสถ ติดกระจก ลงรักปิดทองบานประตู หน้าต่าง แกะสลักเรื่อง พุทธประวัติ ฝาผนัง แต่งแต้มด้วย จิตรกรรม เรื่องพระมหาชนก พระเจ้า ๕ พระองค์  วัดได้รับการถวายประตูอุโบสถจาก นายเกรียงไกร เชษฐโชติศักดิ์ ประธานบริษัท อาร์.เอส.โปรโมชั่น จำกัด (มหาชน) เป็นจำนวนเงิน ๑ ล้านบาท หลังจากนั้นทุกปีนายเกรียงไกรก็จะมาช่วยงาน ที่วัดพระศรีอารย์เป็นประจำ อย่างไรก็ตาม ประชาชนที่มาชมอุโบสถทองคำร้อยล้านแห่งนี้แล้ว ยังจะมีโอกาสได้กราบสักการะร่าง ของหลวงพ่อขันธ์ที่ ไม่เน่าเปื่อยอยู่ในโลงแก้วอีกด้วย
นอกจากนี้แล้ว ที่วัดพระศรีอารย์ ยังจัดศูนย์อบรมค่ายพุทธบุตร สอนให้ยุวชนเข้าใจถึงหลักคำสั่งสอนของพระพุทธองค์ อย่างไรก็ตาม ประชาชนที่มาชมอุโบสถทองคำร้อยล้านแห่งนี้แล้ว ยังจะมีโอกาสได้กราบสักการะร่างของหลวงพ่อขันธ์ (อดีตเจ้าอาวาส) ที่ไม่เน่าเปื่อยอยู่ในโลงแก้วอีกด้วย ผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่เบอร์โทรศัพท์ 0 3223 2595 , 0 3223 1351

 


การเดินทาง
รถยนต์ส่วนตัว ใช้เส้นทางไปอำเภอโพธาราม เส้นทางหลวงหมายเลข 3080 ห่างจากสี่แยกบางแพไปประมาณ 500 เมตร  จะพบป้ายทางเข้าอยู่ด้านขวามือ (ตั้งอยู่เลขที่ 139 ซอยสุขาภิบาล 8 หมู่ที่ 9 ตำบลบ้านเลือก อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี ) รถโดยสาร โดยสารรถประจำทางที่มีเส้นทางเข้าสู่ ตลาดอำเภอโพธาราม จุดสังเกตุคือ จะอยู่ห่างจากสี่แยกบางแพไปประมาณ 500 เมตร จะพบป้ายทางเข้าวัดพระศรีอารย์อยู่ด้านขวามือ จากนั้นเดินเข้าไปอีกประมาณ 500 เมตร (ตั้งอยู่เลขที่ 139 ซอยสุขาภิบาล 8 หมู่ที่ 9 ตำบลบ้านเลือก อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี )